วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ต้นมะรุม สมุนไพรไทย Thaiherbal







มะรุม (marum) เป็นไม้ยืนต้นที่โตเร็ว ทนแล้ง ปลูกง่ายในเขตร้อน มีประโยชน์เอนกประสงค์ ทั้งทางด้านอาหาร ยาและอุตสาหกรรม

ชื่อสามัญ horseradish tree, drumstick tree, Ben oil tree Also call "mother's best friend"

ชื่อวิทยาศาตร์ Moringa olifera Lamk.

วงศ์ MORINGACEAE

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ มะรุม (marum) เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางเรือนยอดกลมและโปร่ง เจริญเติบโตเร็ว อาจจะเติบโตมีความสูงถึง 4 เมตรและออกดอกภายในปีแรกที่ปลูก ใบมะรุม เป็นใบประกอบแบบขนนก ชนิดที่แตกใบย่อย 3 ชั้น ยาว 20 - 40 ซม. ออกเรียงแบบสลับ ใบย่อยยาว 1 - 3 ซม. รูปไข่ ปลายใบและฐานใบมน ผิวใบด้านล่างสีอ่อนกว่าและมีขนเล็กน้อยขณะที่ใบยังอ่อน ใบมะรุมมีรสหวานมัน ออกดอกในฤดูหนาว มะรุม บางพันธุ์ออกดอกหลายครั้งในรอบปี ดอกเป็นดอกช่อ สีขาว กลีบเรียง มี 5 กลีบ กลีบดอกมี 5 กลีบแยกกัน ดอกมีรสขม หวาน มันเล็กน้อย ผลมะรุมเป็นฝักยาว เปลือกสีเขียวมีส่วนคอดและส่วนมน เป็นระยะ ๆ ตามยาวของฝัก ฝักยาว 20 - 50 ซม. ฝักมะรุม มีรสหวาน เมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยม มีปีกบางหุ้ม 3 ปีก เส้นผ่าศูนย์กลางของเมล็ดประมาณ 1 ซม.

การปลูก มะรุม (marum)เป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศแถบเอเชีย เช่น อินเดีย ศรีลังกา เป็นต้น และยังมีในเขตเอเชียไมเนอร์และแอฟริกา เป็นไม้ปลูกง่าย เจริญได้ดีในดินทุกชนิด ต้องการน้ำและความชื้นในปริมาณปานกลาง ขยายพันธุ์ มะรุม (marum)ด้วยการเพาะเมล็ดและการปักชำกิ่ง งอกเร็ว ใช้เวลา 2สัปดาห์ต้นกล้าสูงประมาณ 10-20 เซนติเมตร

ประโยชน์ทางยา

ใบมะรุม ใช้ถอนพิษไข้ แก้เลือดออกตามไรฟัน แก้อักเสบ แก้แผล ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ขับปัสสาวะ ป้องกันมะเร็ง ลดความดันโลหิต

ยอดอ่อนมะรุม ใช้ถอนพิษไข้

ดอกมะรุม ใช้แก้ไข้หัวลม เป็นยาบำรุง ขับปัสสาวะ ขับน้ำตา ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ป้องกันมะเร็ง

ฝักมะรุม แก้ไข้ ป้องกันมะเร็ง ลดความดันโลหิต

เมล็ดมะรุม เมล็ดปรุงเป็นยาแก้ไข้ แก้บวม แก้ปวดตามข้อ ป้องกันมะเร็ง

รากมะรุม รสเผ็ด หวาน ขม สรรพคุณ แก้อาการบวม บำรุงไฟธาตุ รักษาโรคหัวใจ รักษาโรคไขข้อ (rheumatism)

เปลือกลำต้นมะรุม รสร้อน สรรพคุณขับลมในลำไส้ ทำให้ผายหรือเรอ คุมธาตุอ่อน ๆ แก้ลมอัมพาต ป้องกันมะเร็ง คุมกำเนิด เคี้ยวกินช่วยย่อยอาหาร

ยางมะรุม (gum)ฆ่าเชื้อไทฟอยด์ ซิฟิลิส (syphilis) แก้ปวดฟัน earache, asthma


คุณค่าทางอาหาร

ใบ ใบสดมะรุม ใช้กินเป็นอาหาร ใบแห้งที่ทำเป็นผงเก็บไว้ได้นานโดยยังมีคุณค่าทางอาหารสูง ใบมะรุมมีวิตามิน เอ สูงกว่าแครอท มีแคลเซียมสูงกว่านม มีเหล็กสูงกว่าผักขม มีวิตามี ซี สูงกว่าส้มและมีโปแตสเซียมสูงกว่ากล้วย

ดอกมะรุม ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย แก้หวัดHelminths ป้องกันมะเร็ง

ฝัก ฝักมะรุม 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 32 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วย เส้นใย 1.2 กรัม แคลเซียม 9 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 26 มิลลิกรัม เหล็ก 1.5 มิลลิกรัม วิตามินเอ 532 IU วิตามินบีหนึ่ง 0.05 มิลลิกรัม ไนอาซิน 0.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 262 มิลลิกรัม

เมล็ดมะรุม น้ำมันที่ได้จากการคั้น เมล็ดมะรุมสด ใช้เป็นน้ำมันปรุงอาหาร

การปรุงอาหาร ในประเทศไทย ฤดูหนาวจะมี มะรุม (marum)จำหน่ายทั่วไป ทั้งตลาดในเมืองและในท้องถิ่น คนไทยทุกภาครับประทาน มะรุม เป็นผัก ชาวภาคกลางนิยมนักมะรุมอ่อนไปปรุงเป็นแกงส้ม และนำดอกมะรุม ลวกให้สุกหรือดองรับประทานกับน้ำพริก สำหรับชาวอีสาน ยอดอ่อน ใบอ่อน ช่อดอกอ่อนนำไปลวกให้สุกหรือต้มให้สุก รับประทานเป็นผักร่วมกับป่นแจ่ว ลาบ ก้อย หรือนำไปปรุงเป็นแกงอ่อม ส่วนฝักอ่อนหรือฝักที่ยังไม่แก่เต็มที่นำมาปอกเปลือก หั่นเป็นท่อนและนำไปปรุงเป็นแกงส้ม หรือแกงลาวได้ นอกจากนี้ ที่จังหวัดชัยภูมิ ยังรับประทาน ฝักมะรุม อ่อนสด เป็นผักแกล้มร่วมกับส้มตำโดยรับประทานคล้ายกับรับประทานถั่วฝักยาว และชาวบ้านเล่าว่า ฝักมะรุม อ่อนนำไปแกงส้มได้โดยไม่ต้องปอกเปลือก ชาวเหนือนำดอกอ่อน ฝักอ่อนไปแกงกับปลา ในต่างประเทศ เช่น อินเดีย มีการทำผงใบมะรุมไว้เป็นอาหาร น้ำใบมะรุม อัดกระป๋อง


ประโยชน์อื่น ๆ

เมล็ด เมล็ดมะรุมคั้นได้น้ำมันคุณภาพสูงใช้เป็นอาหารและใช้ถนอมผิว กากที่เหลือใช้แทนสารส้มในการทำให้น้ำให้ใสและสะอาด

ใบและกิ่งมะรุม เป็นอาหารสัตว์


ทั้งต้นมะรุม เป็นพืชบำรุงดิน ใช้ฟื้นฟูสภาพดิน ใช้เป็นพืชบังลม รั้วไม้เป็น (รั้วกินได้)